สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร GEN-V : ปฏิวัตอาชีวะด้วย AI สร้างอนาคตใหม่ทางอาชีพ
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร GEN-V : ปฏิวัตอาชีวะด้วย AI สร้างอนาคตใหม่ทางอาชีพ
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567
นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษ ความสำคัญของ AI สำหรับโลกปัจจุบันและโลกอนาคต ความสร้างสรรค์ และข้อควรระมัดระวังในการใช้ AI สำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะทางด้านนวัตกรรมการศึกษาพร้อมยกตัวอย่างการใช้ AI อย่างชาญฉลาด การเตรียมพร้อมสู่อนาคตของงาน ซึ่งตลาดแรงงานกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานหลายประเภทจะถูกแทนที่ด้วย AI ในขณะที่งานใหม่ๆ ที่ต้องใช้ทักษะด้าน AI จะเพิ่มขึ้น การเรียนรู้ GenAI จะช่วยให้นักศึกษาพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ พร้อมด้วย นายธรีวิทย์ หทัยรัตนานนท์ รักษาราชการผู้อำนวยการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู นักเรียน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จำนวนกว่า 1,200 คน ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร GEN-V : ปฏิวัตอาชีวะด้วย AI สร้างอนาคตใหม่ทางอาชีพ
โดยมีวิทยากรหลักได้แก่ ดร.พฤทธิ์ พุฒจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างการเคลื่อนไหว สำนักวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวข้อบรรยายประกอบด้วย ประโยชน์และความสำคัญของ AI การยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่ง GenAI สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านการสร้างเนื้อหา การออกแบบกิจกรรม และการประเมินผล ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาโดยรวมดีขึ้น การเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ ความสามารถในการใช้ GenAI เพื่อสร้าง Digital Content และพัฒนาเกมเบื้องต้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างรายได้เสริมหรือประกอบอาชีพอิสระได้ บันไดการเรียนรู้ AI สำหรับชาว GEN-V ประกอบด้วย ใช้ GenAI สำหรับการระดมความคิด การแก้ปัญหาและพัฒนาคอนเซปต์ ศึกษาการประยุกต์ใช้ GenAI ในแต่ละขั้นตอนของนวัตกรรม ประเมินผลลัพธ์และประสิทธิภาพของ GenAI ในการสนับสนุนนวัตกรรม แนวทางการผสมผสาน GenAI เข้ากับกระบวนการทำงานที่มีอยู่ และการเข้าใจการทำงานและข้อจำกัดการทำงานโดยใช้ GenAI สร้างนวัตกรรม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม GenAI เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการอาชีวศึกษาและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ หลักสูตรนี้ออกแบบมาให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจการประยุกต์ใช้ GenAI ในสถานการณ์จริงได้ดียิ่งขึ้น การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สถาบันอาชีวศึกษาที่นำ GenAI มาใช้ในการเรียนการสอนจะมีความได้เปรียบในการดึงดูดผู้เรียนและสร้างชื่อเสียงในฐานะสถาบันที่ทันสมัยและตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ช่วงท้ายกิจกรรมได้รับความอนุเคราะห์จากนายกสภาฯ จัดหาทุนการศึกษามอบให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ จำนวน 20 ทุน ทุนละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท โดยมีกติกา ดังนี้
1) เป็นนักเรียน นักศึกษา 2) เข้าร่วมประชุมตลอดการประชุม 3) ส่งสรุปสาระจากการประชุมและสาระจากการหาสืบค้นแล้วสรุปใจความสำคัญ จากแหล่งข้อมูลต่างๆอย่างน้อย 20 เรื่อง แต่ละเรื่องมีหัวข้อสรุปดังนี้ ซึ่งแต่ละเรื่องต้องสรุปสาระ ว่า (1) เป็น AI ประเภทใด (2) มีประโยชน์อย่างไร (3) การนำไปใช้หรือการต่อยอดทำอย่างไร (4) ข้อควรระมัดระวัง กฎหมายควบคุมอย่างไร (5) ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร (6) เกี่ยวข้องกับผู้ขอรับทุนในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร เป็นต้น
ส่งสรุปการประชุมมาใน Link สถาบันฯ หมดเขตส่ง 30 พฤศจิกายน 2567 ประกาศผลทุน 29 ธันวาคม 2567 ซึ่งตลอดการอบรมฯ เป็นไปด้วยดี ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ผลการอบรมจะคาดว่าจะกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา ครู ผู้บริหารสถานศึกษามีองค์ความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ได้อย่างเหมาะสม และสร้างความยั่งยืนต่อไป
_____
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย(สภท.๕๙ปี)
#นสพ.ข่าวเป็นข่าวดอทคอมเอกชัยรายงาน
#ติดต่อโฆษณากดแชร์กดติดตามไอดีLINEeakkachai001
โทร0894981477