ผบช.ภ.1 พร้อมด้วย ผบก.ภ.จว. ปทุมธานี นำคณะ กต ตร ภ.จว.ปทุมธานี ขอพรเซียนแปะ โรงสี เพื่อเป็นศิริมงคล ณ วัดมะขาม จังหวัดปทุมธานี

0

ผบช.ภ.1 พร้อมด้วย ผบก.ภ.จว. ปทุมธานี นำคณะ กต ตร ภ.จว.ปทุมธานี ขอพรเซียนแปะ โรงสี เพื่อเป็นศิริมงคล
ณ วัดมะขาม จังหวัดปทุมธานี

วันที่ 5 มี.ค. 67
เวลา 9.00 น.

 

พล.ต.ท.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 1 พล.ต.ต.ยุทธนา จอนขุน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี และ คณะ กต.ตร.ภจว.ปทุมธานี ที่ปรึกษา กต.ตร.ภจว.ปทุมธานี ร่วมกราบสักการะ เซียนแปะ โรงสี
ณ วัดมะขาม อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ประวัติความเป็นมาของ
เซียนแปะโรงสี
อาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่สำหรับคนไทยเชื้อสายจีนละแวก จ.ปทุมธานี และพ่อค้าแม่ค้าที่ทำมาค้าขาย เชื่อว่าต้องมีคนเคยได้ยินชื่อนี้แน่นอน เพราะบางคนไหว้บูชารูปเซียนแปะโรงสี เสมือนเป็นหนึ่งในของขลังในการค้าขายและทำธุรกิจต่างๆ
เซียนแปะโรงสี คือ อาจารย์โง้ว กิมโคย เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่มีตัวตนอยู่จริงๆ สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มีชื่อไทยว่า นที ทองศิริ เป็นที่รู้จักกันในฐานะเจ้าของโรงสีย่านปทุมธานี ที่ขยันทำมาหากินจนสามารถสร้างตัวได้ อีกทั้งยังมีความรู้ด้านพิธีกรรมและศาสตร์ฮวงจุ้ยแบบจีน ทำให้ผู้คนต่างพากันเรียกชื่อท่านว่า “เซียนแปะโรงสี”
ผู้ที่นับถือเซียนแปะโรงสี จะบูชา “ยันต์ฟ้าประทานพร” ซึ่งถือเป็นยันต์ประจำตัวของเซียนแปะโรงสี ที่บรรดาลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสนิยมพกติดตัว เก็บไว้ที่บ้านหรือร้านค้าเพื่อเสริมสิริมงคลในด้านการค้าขาย เนื่องจากเชื่อว่าการไหว้บูชาเซียนแปะโรงสี จะช่วยเสริมมงคลในเรื่องการเงิน โชคลาภ ทำมาหากินได้ ไม่มีอดตาย บ้างก็ไหว้บูชาเพื่อเสริมมงคลเรื่องการงานและความเจริญก้าวหน้า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ทำธุรกิจหรือค้าขาย ก็จะนิยมบูชารูปเซียนแปะโรงสี เพื่อเชื่อว่าจะช่วยดึงดูดลูกค้า จากที่เคยขายของไม่ดี ก็จะเริ่มมีลูกค้าหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ทั้งนี้ ผู้ที่บูชาเซียนแปะโรงสีก็ต้องเป็นผู้ที่ทำมาหากินโดยสุจริต และไม่เบียดเบียนผู้อื่น เซียนแปะโรงสี เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามายังประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยท่านเริ่มจากการรับจ้างเป็นแรงงานทั่วไป จนกระทั่งได้เข้ามาทำงานในโรงสีในพื้นที่ปทุมธานี ท่านเป็นคนสู้ชีวิต อดออม ขยันทำมาหากิน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และเป็นผู้มีอุปนิสัยใจกว้าง มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ลำบากกว่าตนอยู่เสมอ
จนกระทั่งต่อมา เซียนแปะโรงสีได้ผันตัวเป็นพ่อค้าขายข้าวสาร ได้รับความไว้วางใจจากเถ้าแก่โรงสีต่างๆ และได้สร้างโรงสีร่วมกับโรงสีบางโพธิ์ใต้ จนกลายเป็นเจ้าของกิจการเอง โดยใช้ชื่อไทยว่า “นที ทองศิริ” แม้ท่านจะไม่ลำบากเหมือนแต่ก่อน แต่ด้วยความที่เป็นคนมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านในละแวกนั้น
วันหนึ่ง เซียนแปะโรงสีเห็นศาลเจ้าไม้เล็กๆ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เริ่มทรุดโทรม จึงมาซ่อมแซมศาลเจ้าแห่งนั้นด้วยตัวเอง ทุกๆ วัน ท่านจะพายเรือมาซ่อมศาลเจ้าจนกลายเป็นภาพชินตาของชาวบ้าน ทำให้เริ่มมีประชาชนมาร่วมบูรณะศาลเจ้าด้วย จากศาลเจ้าเล็กๆ จึงเริ่มกลายเป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จท่านจึงหาฤกษ์สำหรับเฉลิมฉลองศาลเจ้าประจำปี
ในวันทำพิธี ท้องฟ้ามืดครึ้มเป็นเค้าลางว่าพายุจะเกิดขึ้นในอีกไม่นาน เซียนแปะโรงสีจึงจุดธูปทำพิธีไล่ใน ปรากฏว่าท้องฟ้ากลับโปร่งใสเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์จึงเริ่มพูดกันปากต่อปากถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเซียนแปะโรงสีผู้นี้ ประกอบกับท่านเป็นคนดีและอยู่ในศีลธรรม ทำให้เริ่มมีผู้ศรัทธาในตัวท่านเพิ่มมากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น มักมีผู้เลื่อมใสเดินทางมาขอคำแนะนำเรื่อง
ฮวงจุ้ยและพิธีกรรมต่างๆ เนื่องจากท่านมีความชำนาญเรื่องการปรับฮวงจุ้ยและจะให้คำแนะนำโดยไม่คิดค่าตอบแทน นอกจากนี้ ยังใช้พู่กันจีนเขียนยันต์เป็นภาษาจีนว่า “天官赐福” ซึ่งอ่านว่า
“เทียน กัว สื่อ ฮก” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว เพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านเป็นขวัญกำลังใจอีกด้วย หลายคนบอกว่านำยันต์ที่เซียนแปะโรงสีให้กลับไปบูชาก็ค้าขายดี ทำมาหากินได้คล่องมากขึ้น ซึ่งยันต์นั้นถูกเรียกว่า “ยันต์ฟ้าประทานพร” ตามความหมายของตัวอักษรจีนมีเรื่องเล่าว่า แม้ต่อมาท่านจะอายุมาก ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม แต่ก็ยังคงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และให้คำแนะนำแก่ผู้มาขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ โดยมีเคยแสดงความเหน็ดเหนื่อยเลย เซียนแปะโรงสี เสียชีวิตอย่างสงบ

 

ในวันที่ 16 มกราคมปี พ.ศ. 2527 มีอายุรวม 86 ปี
ต่อมา บรรดาลูกศิษย์และครอบครัวได้ร่วมกันสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อระลึกถึงความดีของท่าน โดยตั้งชื่อว่า “ศาลานที ทองศิริ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529 ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดศาลเจ้า (วัดมะขาม) อ.เมือง จ.ปทุมธานี และมีการแจกจ่ายยันต์ฟ้าประทานพรแก่ผู้ศรัทธา
โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเซียนแปะโรงสีนั่นเอง
วิธีบูชาไหว้เซียนแปะโรงสี
วัดศาลเจ้า จ.ปทุมธานี
1. ระลึกถึงเซียนแปะโรงสี หรือหารูปเซียนแปะโรงสีไว้สำหรับบูชาสัก 1 รูป

2. เริ่มท่องนะโม 3 จบ

3. ท่องคาถาเซียนแปะโรงสี “เทียน กัว สื่อ ฮก” จำนวน 5 ครั้ง

4. อธิษฐานตามความตั้งใจของตัวเอง หากวันนี้จะค้าขายหรือขายของ ก็ให้ขอตามที่ต้องการ

5. ในขณะที่สายมูบางคนก็อาจจะกล่าวคำขอเป็นลูกศิษย์เซียนแปะโรงสีก่อน โดยเชื่อว่าหากเซียนแปะโรงสีตอบรับ ก็จะฝันถึงท่าน หรืออาจได้กลิ่นธูป กลิ่นหมากพลู หรือกลิ่นดอกไม้ เป็นต้น

 

“ข้าพเจ้า (บอกชื่อ-นามสกุล) มีความศรัทธา อยากพึ่งบุญบารมีของเซียนแปะโรงสี อยากขอเป็นลูกหลานของท่าน และก่อนที่ข้าพเจ้าจะเริ่มบูชาท่านอย่างเป็นทางการ ลูกขอเห็นบุญบารมีของท่าน ช่วยโปรดแสดงให้ลูกรู้ หรือรับทราบว่าท่านได้รับรู้ถึงคำอธิษฐานในครั้งนี้ ด้วยเทอญ”วันประจำปีศาลเจ้า ของไหว้บูชาเซียนแปะโรงสี
ทุกๆ ปี วัดศาลเจ้า จ.ปทุมธานี จะจัดงานประจำปีของศาลเจ้า โดยจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 5 วัน เช่น วันตรุษจีนประจำปี 2566 คือ วันที่ 22 มกราคม ก็จะนับต่อไปอีก 5 วัน เท่ากับว่า วันประจำปีของศาลเจ้าเซียนแปะโรงสีคือ วันที่ 26 มกราคม 2566 จะมีลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมากเดินทางมาไหว้บูชาเซียนแปะโรงสี โดยจะมีการจัดงานแสดงงิ้วเพื่อเฉลิมฉลองด้วย
วันเฉลิมฉลองศาลเจ้านี้ ยึดถือตาม “วันชิวโหงว” ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 5 ของวันปีใหม่จีน สำหรับผู้ที่ต้องการไหว้เซียนแปะโรงสี จะเตรียมของบูชาเพื่ออัญเชิญเซียนแปะโรงสี ดังนี้

 

ธูป 5 ดอก
ส้ม 5 ลูก
น้ำชา 5 ถ้วย
ขนมแต้เหลียว 1 จาน
พวงมาลัยพลาสติก 1 คู่
ศาลเซียนแปะโรงสี ตั้งอยู่ภายใน วัดศาลเจ้า ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยทางวัดจะเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้ามากราบไหว้สักการะ วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
ขอบคุณข้อมูล : พลังแห่งศรัทธา แปะโรงสี, ศาลเจ้าเซียนแปะโรงสี และคณะศิษย์เจ้าพ่อวัดศาลเจ้า

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย(สภท.๕๙ปี)
#นสพ.ข่าวเป็นข่าวดอทคอมเอกชัยรายงาน
#ติดต่อโฆษณากดแชร์กดติดตาม
ไอดีLINEeakkachai001
โทร0894981477

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเก่า