ป.ป.ส. จับมือภาคีเครือข่ายแถลงผลงานยาเสพติดไตรมาสแรก (1 ต.ค.-31 ธ.ค. 66) ตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล มุ่งเป้าลดความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน

0

ป.ป.ส. จับมือภาคีเครือข่ายแถลงผลงานยาเสพติดไตรมาสแรก (1 ต.ค.-31 ธ.ค. 66)
ตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล มุ่งเป้าลดความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน

วันที่ 3 มกราคม 2567

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมด้วย พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และ นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พล.ต.สมพงษ์ ใจจา รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กอ.รมน แถลงผลงานยาเสพติดไตรมาสแรก (1 ต.ค.-31 ธ.ค. 66) ตามปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดระยะ 1 ปี Quick Win และการแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมาตรการ ตามนโยบายของรัฐบาล ณ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงาน ป.ป.ส. (ดินแดง)

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยได้มอบนโยบายให้ทุกภาคส่วนร่วมมืออย่างจริงจังในการแก้ปัญหา และจากสถานการณ์ยาเสพติดในช่วงที่ผ่านมาที่มีผู้เสพยาเสพติดจนเกิดปัญหาทางจิตและสร้างความรุนแรงในชุมชน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงได้กำหนดปฏิบัติการ Quick win ในการสำรวจและนำผู้ป่วยจิตเวชเข้าบำบัด พร้อมกับลดการเข้าของยาเสพติดบริเวณชายแดนภาคเหนือและภาคตะวันออดเฉียงเหนือ ด้วยการยกระดับสกัดกั้นยาเสพติดตามมาตรา 5(10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และนครพนม

น.พ.กิตติศักศักดิ์ อักษรวงศ์ กล่าวว่า การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดตามปฏิบัติ Quick Win รวมถึงการฟื้นสภาพเพื่อให้กลับคืนสู่สังคม และการแก้ไขผู้มีปัญหาสุขภาพจิตยาเสพติดอยู่ใน 13 ประเด็นหลักในการดำเนินการของกระทรวงฯ โดยกระทรวงฯ ได้กำหนดการสถานบริการ 3 กลุ่มในระดับจังหวัดมี 1) หอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพบาบาลระดับจังหวัดทุกจังหวัด จำนวน 126 โรงพยาบาล 2) การให้บริการระดับอำเภอ มีการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนให้มีศักยภาพเพียงพอในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช หรือ มินิธัญญารักษ์ ซึ่งเดิมทีสถาบันธัญญารักษ์มีเพียง 7 แห่งทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันได้มี มินิธัญญารักษ์ ใน 46 จังหวัด จำนวน 76 โรงพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชในระดับกลาง และตั้งเป้าขยายการดำเนินการให้ครบ 76 จังหวัด 153 โรงพยาบาล 3)ให้มีบริการแผนกดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในโรงพยาบาลชุมชน เป็นผู้ป่วยนอกที่ไม่มีความรุนแรง ใน 626 โรงพยาบาลชุมชน และมีความเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน

พล.ต.สมพงษ์ ใจจา รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กอ.รมน กล่าวว่าผลจากการกำหนดพื้นที่เร่งด่วนตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ภาคเหนือ จัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (นบ.ยส.35) หรือ Taskforce 35 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) หรือ Taskforce 24 สามารถดำเนินการสกัดกั้นยาเสพติดอย่างเข้มข้น และเด็ดขาด โดยมีการประชุมโต๊ะข่าว สืบสวนขยายผล ลาดตระเวน ตั้งด่าน/จุดตรวจ อย่างต่อเนื่อง จนสามารถจับกุมผู้ต้องหา 372 คน ของกลางยาบ้า 14 ล้านเม็ดและเฮโรอีน 0.8 กิโลกรัม
ในส่วนของการร่วมแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการค้นหาเชิงรุก และเร่งนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการทางสาธารณสุข โดยเน้นหนักผู้มีอาการทางจิตเวชจากยาเสพติด และพิจารณาดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์รักษ์ใจ”

พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กล่าวถึงผลการดำเนินงานในส่วนของการปราบปรามผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติด โดยมีผลการดำเนินงานด้านการสืบสวนปราบปรามที่สำคัญในห้วง 3 เดือนแรก ดังนี้ 1) ผลการจับกุมคดียาเสพติดข้อหาร้ายแรงซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้ารายย่อย จำนวน 23,000 คดี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในห้วงเวลาเดียวกันร้อยละ 30 2) ผลการจับจับกุมคดีรายสำคัญ 268 คดี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10% และในด้านการดำเนินตามปฏิบัติการ Quick win ลดความเดือดร้อนประชาชนจากจิตเวช ได้นำผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 1,052 คน เข้าสู่กระบวนการรักษา คิดเป็น 24 เปอร์เซ็นต์จากเป้าหมาย 4,414คน ที่ได้สำรวจ และจาการสำรวจพบผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ จำนวน 354 คน ได้นำเข้าสู่กระบวนการรักษาอีก 202 คน คิดเป็น 57 เปอร์เซ็นต์

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า การจับกุมผู้ค้ารายย่อยที่มากขึ้น ร้อยละ 30 เป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ถ้าชุมชนเห็นว่าภาครัฐช่วยลดผู้ค้าในชุมชนได้จะเกิดความเชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐและเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นไปตาม การมอบนโยบายของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่ต้องปลุกประชาชนให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ ยังได้กล่าวถึง การเตรียมเปิดโครงการให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมผลิตคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด เพื่อเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ และประกวดแข่งขันเพื่อรับรางวัล เพื่อเปิดให้เยาวชนได้แสดงออก เสนอไอเดีย และส่งต่อในกลุ่มเยาวชนด้วยกัน ถึงการต่อต้ายาเสพติด

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวอีกว่า 3 เดือนแรกของงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลความร่วมมือทางต่างประเทศที่ดีขึ้น โดยสามารถจับกุมได้จำนวน 275 คดี เพิ่มขึ้นถึง 139% การจับกุมผู้ต้องหา 519 รายเพิ่มขึ้นกว่า 200% จำนวนยาบ้า 202 ล้านเม็ด เพิ่มขึ้น 158% โดยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สปป.ลาว ได้จับกุมผู้ต้องหาราย MR.ONG GIM WAH (นายอ่อง กิม วาห์) สัญชาติมาเลเซีย อายุ 39 ปี ที่มีบทบาทในการลักลอบค้ายาเสพติดในภูมิภาคมาอย่างยาวนาน โดยถือเป็นสัญญาณความร่วมมือที่สำคัญ ในการดำเนินการต่อขบวนการยาเสพติดที่หลบหนีในต่างประเทศ ในขณะที่มาตรการปราบปรามในประเทศ การจับกุมข้อหาร้ายแรงคือ ครอบครอง/จำหน่าย/สมคบ สนับสนุน จำนวน 22,716 คดี เพิ่มขึ้น 28% การจับกุมยาบ้าได้ 205 ล้านเม็ด เพิ่มขึ้น 120% ในส่วนการยึดทรัพย์ยึดได้จำนวน 1,964 ล้าน และจะมีปฏิบัติการเร็วๆนี้ ถึงการยึดทรัพย์ผู้ต้องหารายสำคัญจำนวนกว่า 500 ล้าน

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลต้องไปพร้อมกันทั้ง 5 เสาหลักคือ ทหาร ตำรวจ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และประชาชนซึ่งป.ป.ส. จะเป็นเหมือนโซ่คล้องให้กับ 5 เสาหลักเดินในเรื่องของการแก้ไขปัญหายาเสพติด หากเรามีเป้าหมายเดียวกัน แนวทางเดียวกัน เราจะเดินไปพร้อมกันการแก้ไขปัญหายาเสพติดก็จะประสบผลสำเร็จ

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย(สภท.59ปี)
#นสพ.ข่าวเป็นข่าวดอทคอมเอกชัยรายงาน
#ติดต่อโฆษณากดแชร์กดติดตาม
ไอดีLINEeakkachai001
โทร0894981477

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเก่า