นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ตัวแทนหอการค้าไทย เข้าร่วมประชุม “อาชีวะยุคใหม่ สร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน”
นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ตัวแทนหอการค้าไทย เข้าร่วมประชุม “อาชีวะยุคใหม่ สร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน”
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566
เวลา 09.00 – 12.00 น.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดงาน “อาชีวะยุคใหม่ สร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน” ณ ห้องประชุมปทุมมาศ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ในช่วงเวลา 10.40 – 10.50 น. โดยเชิญนายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ปาฐกถาหัวข้อ แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับภาคธุรกิจและบริการเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้ กิจกรรมก้าวดี การจัดการอบรมความรู้นอกกรอบเพื่อเตรียมผู้บริหารอาชีวศึกษารุ่นใหม่สำหรับอนาคต โครงการการพัฒนาทักษะความคิดเชิงระบบผ่านการเขียนรหัส (Coding) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานในศตวรรษที่ 21 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง5และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารออมสิน ในการพัฒนานักเรียน นักศึกษา จำนวน 500 คนและ โครงการความร่วมมือกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์ องค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น (Im Japan)และสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่เน้นไปที่ความสำคัญของการพัฒนาอาชีวศึกษาให้เข้ากับภาคธุรกิจและบริการโดยเฉพาะ และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่หลากหลายและเข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนรู้ทางปฏิบัติที่ได้จากการทำงานกับภาคธุรกิจต่าง ๆ
การปาฐกถาครั้งนี้เป็นการสร้างพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่สนใจในการพัฒนาอาชีวศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจและบริการในยุคปัจจุบันอย่างเหมาะสมและเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสังคม ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับการเรียนรู้ทางอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพสูงต่อไปและเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานและธุรกิจในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการอาชีวศึกษาและภาคธุรกิจในการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรอาชีวศึกษาคุณภาพสูง ในการทำงานในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยต่อไป โดยทิ้งท้ายนำเสนอแนวทางการจัดการอาชีวศึกษารองรับธุรกิจและบริการเชิงคุณภาพ ไว้ 6 ข้อดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยเข้าพบประธานหอการค้าทั้ง 76 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด
2. Young หอการค้าไทยมี 6,777 คนทั่วประเทศ
– Young สอศ. ร่วมทำงานกับ Young หอการค้าไทย ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ
– สร้าง Young สอศ. โดยผ่านหลักสูตรร่วมกับหอการค้าไทย (ความรู้นอกกรอบระบบการศึกษา) ลักษณะคล้าย วปอ.
3. ส่งเสริมกิจกรรม “ก้าวดี” นักเรียนนักศึกษา “เรียนดี มีความสุข” มีดี เก้าด้าน
4. ส่งเสริม ทวิภาคี ต่างประเทศ เริ่มทำโครงการ im japan กับกระทรวงแรงงาน สอศ. และขยายไปยังประเทศอื่น ๆ
5. จัดการอาชีวศึกษา “ระบบการศึกษาทางไกล”
6. วิทยาลัยอาชีวศึกษา (สอศ.) ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์เสริม ของแต่ละวิทยาลัย เพิ่มความพร้อมให้มากขึ้น
ทั้งนี้การดำเนินการยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์เสริม เป็นการ ซ้ำเสริม แต่ไม่ซ้ำซ้อน ปรับ Mindset เปลี่ยนโลก./
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย(สภท.59ปี)
#นสพ.ข่าวเป็นข่าวดอทคอมเอกชัยรายงาน
#ติดต่อโฆษณากดแชร์กดติดตาม
ไอดีLINEeakkachai001
โทร0894981477